วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

เขี่ยเกสรชวนชม

ช่วง เวลาที่เหมาะสมของการจะผสมเกสร หรือเขี่ยเกสร ได้ตั้งแต่ 07.00-10.00 น. เป็นช่วงที่น้ำค้างเริ่มแห้งจากดอกหมดพอดี ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ว่าเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะสุกไม่พร้อมกัน โดย 1-3 วันแรก ตั้งแต่ดอกเริ่มบาน เกสรตัวผู้จะพร้อมผสมพันธุ์ และมีให้เห็นเยอะมาก ถ้าใช้อุปกรณ์สำหรับเขี่ยดู หลังจากวันที่ 3 ผ่านไปแล้ว เกสรตัวผู้จะน้อยลงและไม่ค่อยสมบูรณ์ ถ้าเขี่ยได้ เปอร์เซ็นต์ติดฝักจะน้อยมาก จึงควรเขี่ยช่วง 1-3 วันแรก ส่วนเกสรตัวเมียจะพร้อมและสมบูรณ์ ช่วงวันที่ 3-5 นับตั้งแต่ดอกเริ่มบาน ถ้านานวันเกินไป เกสรตัวเมียจะฟ่อไม่ติดฝัก ขั้นตอนที่ 1 ใช้อุปกรณ์สำหรับเขี่ย บางท่านอาจนำสายโทรศัพท์,ภู่กัน,ไม้จิ้มฟัน ทำการดัดปลายงอเหมือนไม้แคะหูสัก 2 อันเลยดีกว่า ขั้นตอนที่ 2 ทำการฉีกดอกออกดีกว่าเพราะจะเห็นเกสรชัดกว่า โดยฉีกจนเกือบถืงโคน รอสักครู่อาจจะยางชวนชมซึมออกมาให้ใช้กระดาษทิชชูซับออก อาจจะพิถีพิถันนิดใจเย็น ๆ ครับ ขั้นตอนที่ 3 เมื่อฉีกดอกแล้วจะพบเป็นโดมเกสร และระยางมีอยู่ 5 เส้น ให้ใช้อุปกรณ์สำหรับเขี่ยสอดเข้าไปตรงยอดโดม และควักเอาเกสรตัวผู้ขึ้นมา เป็นสีขาวปุยๆ ต้องหาให้เจอ ไม่ได้มีทุกดอก ไม่เจอก็พยายามต่อไป ขั้นตอนที่ 4 เป็นเทคนิคได้เล็กน้อที่ไม่ควรมองข้ามคือ "ใช้อุปกรณ์สำหรับเขี่ยอีกอันหนึ่ง เขี่ยเข้าไปในช่องอับของตัวเมีย เพื่อเปิดนำร่องก่อน เพราะถ้าเราไม่เปิดนำร่องก่อน จะเกิดปัญหาคือ เวลาจะเอาเกสรตัวผู้ที่ได้มา ใส่เข้าไปในอับเกสรตัวเมีย ก็จะติดอยู่ภายนอกไม่ยอมเข้าไป แต่ถ้าเราใช้อุปกรณ์สำหรับเขี่ยอีกอันหนึ่ง ที่ไม่มีเกสรตัวผู้ติดอยู่ นำร่องเข้าไปก่อน ทำให้อับเกสรตัวเมียจะเปิดออกเป็นช่อง คราวนี้ก็ง่ายแล้ว ให้เอาอุปกรณ์สำหรับเขี่ยโดยปลายลวดที่มีเกสรตัวผู้ติดอยู่ ใส่เข้าไปในช่องที่มีรอยแยกแล้วดึงขึ้นเบาๆ ดึงขึ้นให้สุดระยางค์ ที่เราเห็นเป็นเส้นๆ 5 เส้น สีชมพู เกสรตัวผู้จะติดและร่วงหล่นอยู่ภายใน และจะผสมกลับเกสรตัวเมียเอง (เกสรตัวเมียจะอยู่ล่างสุดของโคนดอก) ขั้นตอนที่ 5 เขียนชื่อว่า ผสมอะไรกับอะไรไว้กันลืม ขั้นตอนที่ 6 ที่สำคัญ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียต้องเป็นคนละดอกกัน ดอกเดียวกันผสมกันเองจะไม่ติด เพราะช่วงเวลาเกสรสุกไม่ตรงกัน ขั้นตอนที่ 7 สังเกตุว่าหลังจากทำการผสมไปแล้วดอกร่วง จะเห็นเป็นตุ่มแดง ๆ แสดงว่ามีเฮติดฝักแน่นอน มาชมภาพรายละเอียด










































































วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติชวนชม และการแบ่งสายพันธุ์ชวนชม

ชวนชม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenium obesum Balf., ชื่อสามัญ: Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไรชวนชมในยุคปัจจุบันชวนชมที่เป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน คือชวนชมสายพันธุ์ โซโครทรานั่มและอาราบิคั่ม หรือ ชวนชมยักษ์ซาอุ ชวนชมยักษ์ซาอุ ชวนชมสายพันธุ์นี้มีเอกลักษณ์ที่สวยงามต้นใหญ่ อวบ กิ่งก้านและดอกดกมาก พบมากในอำเภอ คง จังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น4ตระกูลหลัก ได้แก่ เพชรเมืองคง เพชรหน้าวัง ยักษ์ดำ และ ราชินีพันดอก ส่วนโซโคทรานั่ม มีเอกลักษณ์คือ รากใหญ่ กิ่งสั้น แตกพุ่มคล้ายบอนไซ

สายพันธุ์ชวนชมมี 2 กลุ่ม

กลุ่มแรกตามแนวฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา มี 7 สายพันธุ์
1. Adenium obesum Balf. f. เป็นพวกไม้สีสายพันธุ์ฮอลแลนด์ต่างๆ
2. Adenium multiflorum Kiotzsch เป็นยักษ์อาฟริกา หรือ แดงเอ หรือ แดงอาฟ
3. Adenium swazicum Stapf เป็นกลุ่มพวกใบเรียวบิดเล็กพับมีขน ดอกมีสีเดียวกันทั้งดอกจนถึงในกรวยดอก เช่นช็อคกิ้งพิ้ง
4. Adenium bomianum Schinz เป็นพวกใบกว้างใหญ่มีขน ดอกมีสีเดียวกันถึงกรวยดอก เช่น ลักกี้พิ้งค์
5. Adenium olifolium Stapf เป็นพวกยักษ์ใบแบนแคบรูปใบพาย มีขน เช่นพันธุ์บลูฮาวาย
6. Adenium somalense var. somalense Balf. f. เป็นยักษ์ใบเรียวยาวแคบ เส้นใบขาวชัดเจน ไม่มีขน ลำต้นใหญ่สูง ดอกเล็ก มีเส้นนำน้ำหวานในกรวยดอกเห็นชัดเจน กลีบดอกละ 3 เส้น รวม 15 เส้น เช่นยักษ์ญี่ปุ่น
7. Adenium somalense var. crispum เป็นกลุ่มยักษ์ญี่ปุ่นแคระ ใบเรียวเล็กแคบ เส้นใบขาวเห็นชัดเจน ดอกเล็ก มีเส้นนำน้ำหวานในกรวยดอก 15 เส้น เช่นเดียวกับยักษ์ยี่ปุ่น แต่ลำต้นมีขนาดเล็กเตี้ย มีโขดหัวเตี้ย เช่น ลินลี่พุท

กลุ่มที่ 2 มี 2 สายพันธุ์ พบอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ
1. Adenium arabicum Balf. f. เป็นพวกยักษ์ซาอุฯต่างๆ มีโขดเตี้ย มีค้นขึ้นมาจากโขดหลายต้น และไปแตกแขนงกิ่งอีกที เช่นเพชรหน้าวัง , เพชรเมืองคง , ราชินีฯ , ยักษ์พญาชาละวันดำ ,ยักษ์ดำ , ยักษ์ลพบุรี เป็น
2. Adenium socotranum Vierh. เป็นพวกยักษ์ลักษณะเหมือต้นไม้กลับหัวเอารากขึ้นบน ใบมันไม่มีขน เช่น เพชรบ้านนา มงกุฏเพชร มงกุฏทอง เป็นต้น